วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตำนานที่เกี่ยวกับพระปัญญาของพระพิฆเนศ

  • ตำนานเรื่องการอภิเษกของพระพิฆเนศ
เมื่อถึงเวลาอันสมควร พระศิวะจะจัดพิธีวิวาห์ให้ต่อเมื่อพระโอรสองค์ใดองค์หนึ่งระหว่างพระพิฆเนศและขันธกุมาร สามารถเดินทางรอบโลกได้ 7 รอบด้วยเวลาอันรวดเร็ว ฝ่ายขันธกุมารขี่ยูงรำแพนเดินทางไปรอบโลก ฝ่ายพระพิฆเนศกลับเดินประทักษิณรอบพระศิวะและพระนางอุมาเทวี 7 รอบพร้อมให้เหตุผลว่า "ผู้ใดกราบไหว้บูชาบิดา มารดาย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญ การที่เดินรอบบิดา มารดา 7 ครั้งย่อมได้กุศลเทียบเท่าการเดินทงรอบโลกถึง 7 รอบเช่นกัน" พระศิวะชอบใจคำอธิบายของพระพิฆเนศมาก จึงจัดให้พระพิฆเนศวิวาห์กับนางสิทธิ (ความสำเร็จ) และพุทธิ (ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา) ในตอนนั้น
  • ตำนานการจารึกมหากาพย์รามเกียรติ์และมหาภารตะ
ฤษีวาสยะได้ขอพระพรหมให้ทรงบอกถึงคัมภีร์ในนิกายมากมาย แต่พระพรหมทรงให้ไปถามและเรียนรู้จากพระพิฆเนศ พระพิฆเนศจึงได้ร่วมบันทึกเรื่องราวมหากาพย์ทั้งสองขึ้นมาและเล่าขานกันจนถึงปัจจุบัน ตำนานนี้แสดงถึงความเป็นเอกด้านปรัชญาและวรรณกรรมของพระพิฆเนศ
  • ตำนานเรื่องการสั่งสอนท้าวกุเวร
ท้าวกุเวรเป็นเทพที่มักจะประทานพรให้ผู้บูชามีทรัพย์มาก ในทางที่เหมือนสนับสนุนให้คนมีความโลภซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางสู่การบรรลุธรรม พระพิฆเนศจึงสอนท้าวกุเวรด้วยการเสวยทุกอย่างที่ท้าวกุเวรทำมาถวายแม้กระทั่งกรุงลงกาจนท้าวกุเวรกริ้วและไปทูลฟ้องพระศิวะ พระศิวะทรงเข้าใจเจตนาพระคเณศและประทานขนมรันดูให้พระคเณศเพียงชิ้นเดียว พระคเณศก็คายทุกสิ่งที่ท้าวกุเวรถวายออกมาจยหมดสิ้น พระพิฆเนศทรงสอนว่า "หากท้าวกุเวรให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ขอด้วยความโลภก็จะเป็นเช่นนี้ ต่างจากการให้ด้วยรักและเมตตา ที่ให้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด"

ในประเทศไทยมีการยกย่องให้พระพิฆเนศให้พระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและเทพผู้ขจัดซึ่งอุปสรรคทั้งปวง และเป็นปฐมปูชนียเทพด้วย แต่ในอินเดียจะยกย่องพระสรัสวตีให้เป็นเทพีแห่งอักษรศาสตร์และวิทยาการทุกสาขา

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านภารตศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าฮินดู ทรงสอดแทรกความรู้เหล่านี้ในวรรณคดีนิพนธ์หลายๆเรื่องและทรงยกย่องพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและเทพผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง เช่น ในบทละครเรื่องสามัคคีเสวก ตอนกรีนิรมิตร (พระคเณศเสียงา) และลิลิตนารายณ์สิบปาง และทรงโปรดเกล้า๚ ให้ใช้รูปพระพิฆเนศเป็นดวงตราของวรรณคดีสโมสร และใช้สืบต่อมาจนกลายเป็นตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากรจนถึงปัจจุบัน ในตราสัญลักษณ์จะมีลูกแก้ว 7 ลูกล้อมรอบพระพิฆเนศซึ่งลูกแก้วเป็นสัญลักษณ์แทนศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ ช่างปั้น, จิตรกรรม, ดุริยางคศิลป์, นาฏศิลป์, วาทศิลป์, สถาปัตยกรรมและอักษรศาสตร์

นอกจากศาสตร์ทั้ง 7 ที่ปรากฏในตราประจำกรมศิลปากรแล้ว พระพิฆเนศยังได้รับการยกย่องในฐานะบรมครูช้าง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิชาคชศาสตร์ ดังนั้นกิจกรรมใดที่เกี่ยวกับศาตร์นี้ จึงมักเริ่มต้นด้วยการบูชาพระพิฆเนศก่อนเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น