วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โขนตอนพระคเณศเสียงาและนาฏศิลป์อื่นๆที่เกี่ยวกับพระพิฆเนศ

ชมโขนตอนพระคเณศเสียงาได้ที่นี่
ฟังเสียงร้องโขนตอนพระพิฆเนศเสียงา
การแสดงพระคเณศร์เสียงา ในรายการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 7 รอบปีฉลูนักษัตร











พราหมณ์ปรศุราม มีฤทธิ์เดชมาก เป็นหัวหน้าแห่งพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ที่องค์มหาศิวะเทพพอพระทัยเป็นอย่า­งมาก และทรงมอบขวานเพชร ให้เป็นอาวุธ และให้สิทธิเข้าเฝ้าพระองค์ได้ทุกเมื่อที่­ต้องการ ครั้นหนึ่ง ก่อนที่องค์พระศิวะมหาเทพ จะเข้าบำเพ็ญสมาธิญาณ ได้สั่งให้องค์พระพิฆเนศ เฝ้าประตูทางเข้าไว้ ห้ามมิให้ใครผู้ใด ก็แล้วแต่เข้าไปรบกวน ขณะทำสมาธิได้ องค์พระพิฆเนศก็รับพระบัญชาแห่งองค์มหาศิว­ะเทพ ทำการเฝ้าทางเข้านั้นไว้ซึ่งประจวบกับเป็น­วันที่พราหมณ์ปรศุราม ต้องการที่จะเข้าเฝ้าองค์มหาศิวะเทพ จึงเร่งเดินทางไปยังเขาไกรลาศ อันเป็นที่ประทับแห่งองค์มหาศิวะเทพครั้นเ­ดินทางไปถึงนั้น ก็ได้พบกับองค์พระพิฆเนศ นั่งเฝ้าทางขึ้นไว้อยู่ พราหมณ์ปรศุราม ก็ไม่ได้สนใจแต่อย่างใด ได้แต่ดั้นด้นที่จะเข้าเฝ้าองค์พระศิวะให้­ได้แต่อย่างเดียว เมื่อพระพิฆเนศเห็นดังนั้น จึงเข้าไปห้ามปราม ปรศุราม ว่า ขณะนี้องค์มหาศิวะเทพ นั้นกำลังบำเพ็ญสมาธิญาณอยู่ สั่งไม่ให้ใครผู้ใดขึ้นไปรบกวนพระองค์ ปรศุรามก็หาได้ฟังคำเตือนขององค์พระพิฆเนศ­แต่อย่างใด


ชมรำพระคเณศประทานพรได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความสำคัญของพระพิฆเนศในนาฏศิลป์ไทย ตอนที่ 1

พระพิฆเนศได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นเทพที่ประทานความสำเร็จและขจัดอุปสรรคให้แก่ผู้สักการะ และได้รับการยกย่องให้เป็นเทพผู้แตกฉานในหลายๆศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนาฏศาสตร์

ดังที่ปรากฏในหนึ่งจากสามสิบสองปางของพระพิฆเนศคือปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำและศิลปะการแสดง เป็นปางที่พระวรกายเป็นสีเหลืองทอง มีสี่กร เป็นนักเต้นร่ายรำและสร้างความสุขให้ชาวโลก ในพระหัตถ์ทรงกระบอง บ่วงบาศ ขวานและงาหัก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัว พระพิฆเนศทรงเป็นเทพที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในศาสตร์แขนงนี้ นับตั้งแต่การบูชาไหว้บรมครูทางนาฏศิลป์ การบวงสรวงก่อนเริ่มการแสดงหรือประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการแสดง รวมถึงความเชื่อที่ว่าทำไมโจงกระเบนที่นักเรียนนาฏศิลป์นุ่งจึงมีสีแดง



ในการไหว้ครูนาฏศิลป์หรือพิธีไหว้ครู เป็นพิธีที่ลูกศิษย์จะแสดงความเคารพ ความจริงใจและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์และเชื่อว่าผู้ที่ไหว้ครูด้วยความจริงใจจะเป็นผู้มีปัญญา ไม่ตกต่ำและทำให้ความรู้และสรรพวิทยาการทั้งหลายเจริญก้าวหน้า พิธีไหว้ครูจะประกอบกันในวันพฤหัสบดีเท่านั้นเพราะเชื่อว่าพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤาษีและเป็นบรมครูของเหล่าทวยเทพ ดังนั้นจึงเชื่อกันว่าวันพฤหับดีเป็นวันครู ในการทำพิธีจะมีการตั้งวางโขนศีรษะของเทพเจ้าและศีรษะโขน โดยโขนศีรษะของพระพิฆเนศจะมีสีแดง
และวางไว้ตรงกลางโต๊ะหมู่ หัวโขนพระพิฆเนศ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิฆเนศ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญาศิลปศาสตร์ เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เป็นเทพผู้อยู่เหนือการรจนาหนังสือ  คนไทยนับถือพระคเณศในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค เทพผู้คุ้มครองเด็ก เทพบริวารของเทพชั้นสูงสุด ๓ พระองค์ (ตรีมูรติ) พระเทวกรรมในฐานะบรมครูช้างเทพผู้เป็นนายทวารบาล นอกจากปราฏกของพระพิฆเนศในพิธีไหว้ครูแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับพระ


พิฆเนศยังปรากฏเป็นสัญลักษณ์ในเครื่องแต่งกายของนักเรียนนาฏศิลป์ด้วย บางท่านเชื่อกันว่าสีแดงของโจงกระเบนที่นักเรียนนาฏศิลป์นุ่งมาจากสีของโขนเศียรพระพิฆเนศ เพื่อให้ท่านอำนวยพรให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึกฝน



ความสำคัญของพระพิฆเนศในนาฏศิลป์ไทย ตอนที่ 2

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คเณศานี (Ganeshani) พระพิฆเนศในภาคที่เป็นสตรี

ภาพจาก http://www.saisathyasai.com
คเณศานี (Ganeshani) หรือไวนายกี (Vainayaki) เชื่อกันว่าเป็นภาคหนึ่งของพระพิฆเนศที่มีรูปกายเป็นสตรี สังเกตุได้จากรูปสักการะที่มีเศียรเป็นช้างแบบพระคเณศแต่มีหน้าอกใหญ่แบบเพศหญิง เป็นลักษณะรูปสักการะของเทพีหรือโยคินีในลัทธิตันตระ รูปสักการะพระพิฆเนศวรภาคที่เป็นสตรีนี้พบมากทางใต้ของประเทศอินเดียที่ เมืองทมิฬนาดูและแถบประเทศทิเบต ในคัมภีร์ปุราณะบางเล่มได้กล่าวถึงพระนามของโยคินีต่างๆที่อาจหมายถึงภาคสตรีของพระพิฆเนศด้วย เช่น คัมภีร์มัสตยปุราณะกล่าวถึงชื่อไวนายกี (Vainayaki) ส่วนคัมภีร์เทวีสหัสนามกล่าวถึงชื่อวินายิกี (Vinayiki), ลัมโพทรี (Lamfodari) และคเณศวรี (Ganesvari) ที่สื่อถึงพระพิฆเนศด้วย ผู้บูชามักบูชาขอประทานบุตรจากเทวีคเณศานี นอกจากนั้นเทวีคเณศานียังเปรียบเสมือนเทวีผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง