วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความสำคัญของพระพิฆเนศในนาฏศิลป์ไทย ตอนที่ 1

พระพิฆเนศได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นเทพที่ประทานความสำเร็จและขจัดอุปสรรคให้แก่ผู้สักการะ และได้รับการยกย่องให้เป็นเทพผู้แตกฉานในหลายๆศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนาฏศาสตร์

ดังที่ปรากฏในหนึ่งจากสามสิบสองปางของพระพิฆเนศคือปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำและศิลปะการแสดง เป็นปางที่พระวรกายเป็นสีเหลืองทอง มีสี่กร เป็นนักเต้นร่ายรำและสร้างความสุขให้ชาวโลก ในพระหัตถ์ทรงกระบอง บ่วงบาศ ขวานและงาหัก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัว พระพิฆเนศทรงเป็นเทพที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในศาสตร์แขนงนี้ นับตั้งแต่การบูชาไหว้บรมครูทางนาฏศิลป์ การบวงสรวงก่อนเริ่มการแสดงหรือประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการแสดง รวมถึงความเชื่อที่ว่าทำไมโจงกระเบนที่นักเรียนนาฏศิลป์นุ่งจึงมีสีแดง



ในการไหว้ครูนาฏศิลป์หรือพิธีไหว้ครู เป็นพิธีที่ลูกศิษย์จะแสดงความเคารพ ความจริงใจและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์และเชื่อว่าผู้ที่ไหว้ครูด้วยความจริงใจจะเป็นผู้มีปัญญา ไม่ตกต่ำและทำให้ความรู้และสรรพวิทยาการทั้งหลายเจริญก้าวหน้า พิธีไหว้ครูจะประกอบกันในวันพฤหัสบดีเท่านั้นเพราะเชื่อว่าพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤาษีและเป็นบรมครูของเหล่าทวยเทพ ดังนั้นจึงเชื่อกันว่าวันพฤหับดีเป็นวันครู ในการทำพิธีจะมีการตั้งวางโขนศีรษะของเทพเจ้าและศีรษะโขน โดยโขนศีรษะของพระพิฆเนศจะมีสีแดง
และวางไว้ตรงกลางโต๊ะหมู่ หัวโขนพระพิฆเนศ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิฆเนศ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญาศิลปศาสตร์ เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เป็นเทพผู้อยู่เหนือการรจนาหนังสือ  คนไทยนับถือพระคเณศในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค เทพผู้คุ้มครองเด็ก เทพบริวารของเทพชั้นสูงสุด ๓ พระองค์ (ตรีมูรติ) พระเทวกรรมในฐานะบรมครูช้างเทพผู้เป็นนายทวารบาล นอกจากปราฏกของพระพิฆเนศในพิธีไหว้ครูแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับพระ


พิฆเนศยังปรากฏเป็นสัญลักษณ์ในเครื่องแต่งกายของนักเรียนนาฏศิลป์ด้วย บางท่านเชื่อกันว่าสีแดงของโจงกระเบนที่นักเรียนนาฏศิลป์นุ่งมาจากสีของโขนเศียรพระพิฆเนศ เพื่อให้ท่านอำนวยพรให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึกฝน



ความสำคัญของพระพิฆเนศในนาฏศิลป์ไทย ตอนที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น